
วันที่ 11 พฤศจิกายน 2559
มีรายงานว่า บราซิลส่งออกน้ำตาลในไตรมาสที่ 3 ของปี 2559 จำนวน 987,630 ตัน เพิ่มขึ้น 53.4% จาก 643,730 ตัน ในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2558 โดยเดือนกันยายน ส่งออกจำนวน 288,837 ตัน ลดลงจาก 383,163 ตัน ในเดือนสิงหาคม และ 315,641 ตัน ในเดือนกรกฎาคม รวมในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2559/2560 (เมษายน-มีนาคม) บราซิลส่งออกน้ำตาลจำนวน 2,200,258 ตัน เพิ่มขึ้น 37.50% จากปีก่อน ประเทศปลายทางหลักได้แก่ เยเมน 416,691 ตัน (18.94% ของทั้งหมด) ตามด้วยเมียนม่า 301,073 ตัน (13.68%) และศรีลังกา 298,159 ตัน (13.55%) โดยส่งออกที่ท่าเรือ Santos มากสุด จำนวน 2,107,697 ตัน ท่าเรือ Paranagua จำนวน 64,397 ตัน และท่าเรือ Suape จำนวน 17,323 ตัน
Conadesuca คาดการผลผลิตน้ำตาลของแม็กซิโกเป็นครั้งแรกของปี 2559/2560 ดังนี้
กระทรวงเกษตรของรัสเซียรายงานว่า เพียง ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2559 เกษตกรชาวไร่บี้ทของรัสเซียเก็บเกี่ยวบี้ทจาก 1,025,800 เฮคแต หรือ 92.4% ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด เทียบกับ 943,700 เฮคแต ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ผลผลิตบี้ทมีจำนวน 47.3 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 35.7 ล้านตัน ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และผลผลิตบี้ทเฉลี่ยอยู่ที่ 46.14 ตัน/เฮคแต เพิ่มขึ้นจาก 37.80 ตัน/เฮคแต ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
Finance Minister Ravi Karunanayake ของศรีลังการายงานว่า ศรีลังกาจะกำหนดอัตราภาษีนำเข้าสำหรับเอทานอล 5% และน้ำตาล 2% เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาอ้อยในประเทศ ทั้งนี้ ศรีลังกาให้เงินทุน 100% สำหรับนักลงทุนในประเทศและนักลงทุนต่างประเทศที่จะตั้งโรงงานที่มีกำลังผลิตอ้อยมากกว่า 2,000ตัน/วัน และจะให้พื้นที่สำหรับเพาะปลูกด้วย